รวมวิดีโองาน Thailand National Cyber Week 2023 (Cybersecurity Expo)

ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และความเป็นส่วนบุคคลกับ สกมช. และหน่วยงานพันธมิตร หน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง สถาบันวิจัยและพัฒนา ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ชั้นนำของไทย และเจ้าของผลิตภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันด้านไซเบอร์ของธุรกิจไทยให้แข็งแกร่งในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

Thailand National Cyber Week 2023 (Cybersecurity Expo) จัดขึ้นเมื่อวันที่ 17 – 18 กุมภาพันธ์ 2023 ที่ผ่านมา ณ สามย่านมิตรทาวน์ ผู้ที่ไม่ได้เข้าฟังบรรยายหรือต้องการรับชมการบรรยายซ้ำอีกครั้ง สามารถดูวิดีโอบันทึกย้อนหลังทั้งหมดได้ที่นี่

• ไปที่วิดีโอการบรรยายวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2023
• ไปที่วิดีโอการบรรยายวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2023

NCSA Thailand National Cyber Week 2023 – Grand Opening Ceremony

สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) จัดพิธีเปิดงาน “นิทรรศการสัปดาห์วิชาการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ปี 2566 (Thailand National Cyber Week 2023)” ณ สามย่านมิตรทาวน์ฮอลล์ ชั้น 5 สามย่านมิตรทาวน์ เร่งพัฒนาขับเคลื่อนด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยมีคุณชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประธานกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และประธานกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เป็นประธานในพิธีเปิดงานฯ พร้อมด้วยพลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ และพลตรี ธีรวุฒิ วิทยากรณ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ

วิดีโอวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2023

รู้ทันกลโกงมิจฉาชีพบนโลกออนไลน์

วิทยากร: พันตำรวจเอก ณัทกฤช พรหมจันทร์ ผู้อำนวยการ สำนักปฏิบัติการ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ

เสวนากลุ่มย่อย – ความสำคัญของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ด้านความมั่นคงของรัฐ กับวิสัยทัศน์ของประเทศไทย

วิทยากร:

  • พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
  • พลอากาศตรี ดนุภพ รัตนพานิช ผู้อำนวยการศูนย์ไซเบอร์ กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม
  • คุณรุ่งศักดิ์ ปิยะรัตน์ รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
  • คุณธาดา กิจมาตรสุวรรณ President Engineering, GenT Solution

เสวนากลุ่มย่อย – บริการภาครัฐกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และความเป็นส่วนบุคคลของข้อมูลประชาชน

วิทยากร: 

  • พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
  • คุณเฉลิมศักดิ์ เลิศวงศ์เสถียร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงการคลัง
  • คุณบัณฑิต พิมพากรณ์ ผู้เชี่ยวชาญ 2 กลุ่มงานกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.)
  • คุณกฤษณา เขมากรณ์ Country Manager, M-Solutions Technology (Thailand)

เสวนากลุ่มย่อย – เสริมความมั่นคงให้กับการบริการด้านสุขภาพ กับการป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์สำหรับหน่วยงานสาธารณสุข

วิทยากร: 

  • พลอากาศตรี จเด็ด คูหะก้องกิจ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
  • คุณอนันต์ กนกศิลป์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • คุณณัฐพงษ์ ฟองสินธุ์ Senior Solution Architecture SEA, Infoblox

เสวนากลุ่มย่อย – Manufacturing 4.0 กับการเสริมความมั่นคงให้ธุรกิจโรงงานและการผลิตด้วย Cybersecurity

วิทยากร: 

  • พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
  • คุณนรินทร์​ฤทธิ์​ เปรม​อภิ​วัฒโน​กุล ​อุปนายก​สมาคม​ความมั่นคง​ปลอดภัย​ระบบ​สารสนเทศ​ (TISA)
  • ดร. ธัชพล โปษยานนท์ Country Director, Palo Alto Networks Thailand and Indochina

2023 Cybersecurity & Privacy Trends

อัปเดตแนวโน้มภัยคุกคาม ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคลล่าสุดที่หน่วยงานรัฐและองค์กรธุรกิจควรตระหนักรู้ รวมถึงประเด็นด้านไซเบอร์ที่น่าสนใจที่จะเกิดขึ้นในปี 2023 เช่น กฎหมายด้านไซเบอร์, การเปลี่ยนผ่านสู่ Cyber Resilience, Cyber Risk VS. Digital Risk และ Digital Divide VS. Digital Inequality

วิทยากร: คุณปริญญา หอมเอนก ประธานกรรมการบริหาร ACIS Professional Center

เสวนากลุ่มย่อย – แนวทางการการจัดทำกลยุทธ์ด้าน Zero Trust สำหรับผู้บริหารระดับสูง

แนวคิดเกี่ยวกับ Zero Trust ถูกพูดถึงอย่างมากมายตลอด 2 – 3 ปีที่ผ่านมา หลายองค์กรพยายามศึกษา ทำความเข้าใจ เพื่อที่จะได้ดำเนินการตามแนวทางได้อย่างถูกต้อง การกำหนดกลยุทธ์ด้าน Zero Trust สำหรับองค์กรจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่ผู้บริหารด้าน IT จำเป็นต้องเข้าใจและดำเนินการได้อย่างเหมาะสม กลยุทธ์ที่สร้างขึ้นมาควรครอบคลุมตั้งแต่การกำหนดสถาปัตยกรรมด้าน Zero Trust การสร้าง Cybersecurity Program และการสร้างมาตรการควบคุมด้านความมั่นคงปลอดภัยที่สอดคล้องกับแนวคิดนี้ แนวคิด Zero Trust สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งระบบ IT/OT ประโยชน์ที่องค์กรได้รับคือการยกระดับความมั่นคงปลอดภัย การปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจ รวมทั้งการลดต้นทุนการดำเนินการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัย

วิทยากร: ดร.ศุภกร กังพิศดาร Managing Director, Cyber Elite และ Heng Mok CISO, Zscaler

NIST Cybersecurity Framework in Practice

เจาะลึก NIST Cybersecurity Framework หัวใจสำคัญของ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ทั้ง 5 ฟังก์ชัน ได้แก่ Identify, Protect, Detect, Respond และ Recover พร้อมแชร์ประสบการณ์การนำ Framework ดังกล่าวมาใช้เป็นกรอบการทำงานและแนวทางปฏิบัติด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่าง Huawei

วิทยากร: คุณสุรชัย ฉัตรเฉลิมพันธุ์ Country Cyber Security & Privacy Officer, Huawei Technologies (Thailand)

Zero Trust Security for the Hybrid Workforce

พบกับหัวใจสำคัญ 5 ข้อในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของ Zero Trust เพื่อตั้งรับการโจมตีที่เปลี่ยนไปและการทำงานในยุคไฮบริดปัจจุบัน

วิทยากร: คุณกฤษณา เขมากรณ์ Country Manager, M-Solutions Technology (Thailand)

PDPA Practices in AIS

แชร์ประสบการณ์การวางกลยุทธ์ กระบวนการ และแนวทางปฏิบัติด้านการจัดเก็บและรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลในองค์กรของ AIS ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

วิทยากร: คุณมนฑกานติ์ อาขุบุตร Head of Data Protection Office Unit, AIS

5 ข้อเช็คลิสต์ องค์กรคุณปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแล้วหรือยัง?

สรุปสาระสำคัญของ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ปัญหาและความท้าทายที่ค้นพบตลอดช่วง 8 เดือนที่เริ่มบังคับใช้ พร้อมเช็คลิสต์ที่สำคัญ 5 ข้อที่หน่วยงานรัฐและองค์กรธุรกิจต้องปฏิบัติตาม เพื่อให้สามารถจัดการและปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนได้ตามที่ พ.ร.บ.ฯ กำหนด

วิทยากร: ดร.สุนทรีย์ ส่งเสริม ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

To Prevent Last Line of Defense

Ransomware เป็นภัยคุมคามที่มีผลกระทบต่อข้อมูลสำคัญของบริษัท เราจะทำอย่างไรเพื่อที่จะรับมือ ป้องกันข้อมูลไม่ให้สูญหาย และล่วงรู้ภัยที่มาถึง รวมถึงฟื้นฟูข้อมูลกลับมาได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่กระทบกับธุรกิจที่กำลังดำเนินอยู่

วิทยากร: คุณสุรชัย อรรถมงคลชัย Hybrid IT Country Manager, HPE (Thailand)

Edge to Cloud Security

การสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้กับระบบเครือข่ายจาก Edge สู่ Cloud ด้วยโมเดล Zero Trust และ SASE

วิทยากร: คุณปิยะพล ตรียานันท์ System Engineer Manager, HPE Aruba Networking

การใช้ AI และ Machine Learning ในโลก Application & Data Security

หลายองค์กรกำลังประสบปัญหาขาดแคลนบุคลากรด้าน Cybersecurity และการตอบสนองภัยคุกคามอย่างทันท่วงที เทคโนโลยีที่ช่วยลดช่องว่างของปัญหานี้ก็คือ AI และ Machine Learning ซึ่ง Imperva ได้พิสูจน์มาแล้วว่า เทคโนโลยีดังกล่าวช่วยสร้างความเข็มแข็งและลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามได้แบบเป็นรูปธรรม

วิทยากร: คุณณัฐพล เทพเฉลิม Country Manager (Thailand), Imperva

เสวนากลุ่มย่อย – แนวทางการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ใน ASEAN/Japan และการนำโมเดล Zero Trust มาใช้งานจริงในองค์กรธุรกิจ

อัปเดตแนวโน้มภัยคุกคามไซเบอร์ การรักษาความมั่นคงปลอดภัย และความเป็นส่วนบุคคลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศญี่ปุ่น พร้อมแชร์ประสบการณ์การนำสถาปัตยกรรมแบบ Zero Trust มาใช้จริงในองค์กรธุรกิจ กรณีศึกษา และแนวทางปฏิบัติเพื่อให้ประสบความสำเร็จ

วิทยากร:

  • พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
  • Yum Shoen Yih, Director of Cyber Security Programme Centre, Cyber Security Agency (Singapore)
  • Masayuki Furukawa, Senior Deputy Director, Office for STI&DX, Governance and Peacebuilding Department, JICA Head Office

OWASP Top 10 และแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันอย่างมั่นคงปลอดภัย

สรุปความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยของการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน 10 อันดับจาก OWASP Top 10 ฉบับล่าสุด โดยเฉพาะความเสี่ยงใหม่อย่าง Insecure Design, Software & Data Integrity Failures และ SSRF พร้อมแนะนำแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการจัดการกับความเสี่ยงเหล่านั้นและพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันให้มั่นคงปลอดภัย

วิทยากร: คุณสุเมธ จิตภักดีบดินทร์ Board of Committee, OWASP Thailand Chapter

การปกป้องข้อมูลที่เหนือกว่าด้วยเทคโนโลยี Isolation

การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ไม่ได้มีแค่การปกป้องการเข้าถึงข้อมูลเพียงอย่างเดียว แต่ต้องคำนึงถึงการรับมือหากเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ข้อมูลเสียหายขึ้น เราจำเป็นต้องมีวิธีการรับมือที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วในการฟื้นฟูข้อมูลและระบบกลับคืนมา เพื่อให้ธุรกิจของเราสามารถเดินต่อได้

วิทยากร: คุณศุภมิตต์ บุญชัยวัฒนา System Engineer, Computer Union

เสวนากลุ่มย่อย – Cyber Reality – Security in the Age of Alien Intelligence

In 2023, Artificial Intelligence (AI) will continue to be a powerful tool in cybersecurity, allowing organizations to enhance threat detection and response, proactively identify vulnerabilities, automate incident response, enhance user authentication, and improve security awareness. But hacker can use it too. What can we do?

วิทยากร: 

  • คุณวรเทพ ว่องธนาการ Solution Manager (Network and Cybersecurity), Yip In Tsoi
  • คุณวนิดา แก้วมณี Assistant Solution Manager (Network and Cybersecurity), Yip In Tsoi
  • คุณวิภาวี ม่วงชู Solution Architect (Network and Cybersecurity), Yip In Tsoi

การปรับใช้กลยุทธ์ด้าน Data & Threat Protection แบบใหม่สำหรับการทำงานแบบไฮบริดในปัจจุบัน

การบังคับใช้กฎหมาย PDPA มาพร้อมกับความต้องการด้าน Data Privacy ที่ทุกองค์กรต้องเผชิญ รวมถึงความท้าทายในการป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์ให้สอดคล้องกับตัวบทกฎหมาย เข้าฟังการบรรยายนี้เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของภัยคุกคามและการปกป้องข้อมูลในปี 2023 ปัญหาและอุปสรรคที่ตามมา และความจำเป็นที่องค์กรต้องปรับใช้กลยุทธ์แบบใหม่เพื่อป้องกันเหตุข้อมูลรั่วไหลสู่สาธารณะและภัยคุกคามไซเบอร์สำหรับการทำงานแบบไฮบริดในปัจจุบัน

วิทยากร: คุณพีระ เด่นประยูรวงศ์ Senior Solutions Consultant, Forcepoint (Thailand & IndoChina)

ปกป้อง Digital Identity ของคุณ แค่ Multi-factor Authentication เพียงพอไหม?

แชร์ตัวอย่างเทคนิคการบายพาสระบบพิสูจน์ตัวตนแบบ Multi-factor Authentication ที่แฮ็กเกอร์ใช้ก่อเหตุจริง และวิธีการรักษาอัตลักษณ์ทางดิจิทัล (Digital Identity) ของพนักงานในองค์กรให้มั่นคงปลอดภัย

วิทยากร: คุณสันต์ งามศิริเดช Senior Sales Engineer – ASEAN, Recorded Future

Simplify Cybersecurity with Security Vendor Consolidation

ปัจจุบันองค์การต่างๆ มีอุปกรณ์ทางด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์มากมายและจากหลากหลาย Vendors ทำให้การบริหารและจัดการอุปกรณ์ทั้งหมดทำได้ยากลำบาก ต่างคนต่างทำงานขาดประสิทธิภาพ เกิดเป็นช่องโหว่ที่สามารถถูกโจมตีได้โดยง่าย การลดจำนวนผู้จัดจำหน่ายและการทำงานร่วมกันระหว่าง Vendors จึงเป็นที่นิยม มารับฟังความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญจาก Fortinet กัน

วิทยากร: ดร.รัฐิติ์พงษ์ พุทธเจริญ Senior Manager, Systems Engineering, Fortinet (Thailand)

การปกป้องข้อมูลความลับและจัดการการเข้าถึงบน Hybrid Cloud ขนาดใหญ่

เนื่องจากธุรกิจเคลื่อนไปสู่โลกดิจิทัลอย่างรวดเร็ว ฝ่ายไอทีจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการทำงานกับโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศและแอปพลิเคชัน โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศถูกเปลี่ยนจากแบบเดิมที่สามารถควบคุมได้อย่างสมบูรณ์แบบไปสู่รูปแบบ Hybrid Cloud ที่ต้องทำงานร่วมกับ Cloud Computing ที่หลากหลาย รวมถึงสภาพแวดล้อมที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา แอปพลิเคชันก็ต้องได้รับการออกแบบสำหรับการปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อให้รองรับผู้ใช้ที่มีโอกาสขยายจำนวนได้อย่างรวดเร็วแบบอัตโนมัติ นอกจากนี้ เมื่อข้อมูลย้ายไปยังระบบคลาวด์ ความเสี่ยงของการเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นโดยไม่ได้รับอนุญาตจะเพิ่มขึ้น โอกาสของจำนวนภัยคุกคามก็เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

ในความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ในมุมมองจากด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ การบริหารจัดการความลับ ​(Secrets Management) เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ ในหัวข้อนี้ จะนำเสนอมุมมองของปัญหาของเรื่อง Secrets Management รวมถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหา

วิทยากร: คุณดำรงศักดิ์ รีตานนท์ Chief Cyber Security Officer, MFEC

Zero Trust Concept Implemented as Asset-Based Cyber Defence (ABCD)

ช่วงการระบาดของ COVID19 ทาง CSA ได้ให้ทุนสนับสนุนนวัตกรรมแก่ผู้พัฒนาโซลูชันต่างๆ ในสิงคโปร์ โดยการติดตั้งระบบของ CSA ในปี 2017 จะต้องคำนึงถึง “Be Safe Online” โดยแนวคิด Zero Trust เป็นแนวคิดลำดับแรกๆ ที่ถูกนำมาใช้ภายใต้ชื่อ Asset-Based Cyber Defense (ABCD) Zero Trust ซึ่งเป็นการขยายจาก Endpoint ไปสู่ Cloud โดยแนวคิด ABCD Zero Trust คือแนวคิด “ไม่เชื่อหรือไว้วางใจเลย” จนกว่าจะได้ตรวจสอบ

วิทยากร: Jason Kong CTO, Toffs Technologies และคุณพิรดา อิงค์ธเนศ Co-Founder & COO, DataOne Asia (Thailand)

What’s eVRF and… Why Should I Care?

The purpose of the extensible Visibility Reference Framework (eVRF) is to provide a framework for organizations to identify visibility data that can be used to mitigate threats, understand the extent to which specific products and services provide that visibility data, and identify potential visibility gap.

วิทยากร: Pakawat Wattanachot Sales Engineering Thailand, Gigamon (Thailand)

วิดีโอวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2023

สรุปสาระ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ประชาชนได้ประโยชน์อย่างไร?

สรุปสาระสำคัญของ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พร้อมแนวโน้มภัยคุกคามไซเบอร์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ประโยชน์ที่ประชาชนและประเทศได้รับจากการมี พ.ร.บ. ดังกล่าว รวมถึงคำแนะนำในการสร้างภูมิคุ้มกันด้านไซเบอร์สำหรับประชาชนทั่วไป

วิทยากร: พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ

เสวนากลุ่มย่อย – การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ด้านการเงินธนาคาร เพื่อปกป้องชาวไทยจากการตกเป็นเหยื่อแก๊งอาชญากรไซเบอร์

วิทยากร: 

  • พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
  • คุณสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
  • คุณรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์​ (ก.ล.ต.)

เสวนากลุ่มย่อย – การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้โครงข่ายสัญญาณโทรคมนาคมทั่วไทย กับความสำคัญต่อภาคประชาชนและธุรกิจ

วิทยากร: 

  • พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
  • คุณกนกอร ฉวาง ผู้อำนวยการส่วนการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
  • คุณกิตติพงษ์ ธีระเรืองไชยศรี Cyber Security Expert / Information Security and Data Management, True Corporation
  • คุณสุรชัย ฉัตรเฉลิมพันธุ์ Country Cyber Security & Privacy Officer, Huawei Technologies (Thailand)

เสวนากลุ่มย่อย – ความมั่นคงทางพลังงานและสาธารณูปโภคกับการเสริมแกร่งความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

วิทยากร: 

  • พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
  • คุณอรอนุตตร์ สุทธิ์เสงี่ยม ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน
  • คุณนันทวรรณ ธรรมวิไลวัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และธรรมาภิบาลข้อมูล การไฟฟ้านครหลวง
  • คุณปิยธิดา ตันตระกูล Country Manager (Thailand), Trend Micro

เสวนากลุ่มย่อย – ผลกระทบของภัยคุกคามไซเบอร์ต่อการคมนาคมขนส่งทั่วไทย และการรับมือของประเทศไทย

วิทยากร: 

  • พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
  • คุณชาครีย์ บำรุงวงศ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม

เสวนากลุ่มย่อย – สร้างภูมิคุ้มกันไซเบอร์ให้บุตรหลานของท่าน ด้วยโครงการ Cyber Safe Kids

รู้จักโครงการ Cyber Safe Kids จาก สกมช. และ Palo Alto Networks ที่จะช่วยให้บุตรหลานของท่านมีภูมิคุ้มกันด้านไซเบอร์ พร้อมท่องโลกออนไลน์ได้อย่างมั่นคงปลอดภัย ไม่ตกเป็นเหยื่อแก๊งต้มตุ๋น ผ่านทางโปรแกรมการเรียนรู้ที่ได้ทั้งสาระและความสนุกสนาน

วิทยากร: คุณปิยะ จิตต์นิมิตร Country Manager, Palo Alto Networks (Thailand) และคุณชัชวัฒน์ อัศวรักวงศ์ Managing Director, KBTG และ CISO, KBank

The Future of Cybersecurity | Risk and Resilience

แนวโน้มการโจมตีทางไซเบอร์ที่เติบโตขึ้น เป็นหัวข้อสำคัญที่ทุกภาคส่วนให้ความตระหนักและหาแนวทางเพื่อลดความเสี่ยงทางไซเบอร์ (Cyber Risk) ที่อาจจะนำไปสู่การสูญเสียความลับ ความถูกต้องและความพร้อมใช้งานของสินทรัพย์ดิจิทัล ดังนั้น การเตรียมความพร้อมและพัฒนากระบวนการป้องกันและรับมือจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินการไปได้อย่างราบรื่น

วิทยากร: คุณธนพล ประสิทธิ์ไพฑูรย์ ผู้ชำนาญการด้าน Cybersecurity จาก CyberGenics

พัฒนา Threat​ Model ด้วยตัวคุณ​เอง

อธิบายวิธีการวิเคราะห์​รูปแบบการโจมตีและภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นภายในองค์กร​ของคุณด้วย Threat Model​ ให้เข้าใจได้ง่ายและสามารถนำไปใช้งานได้จริง

วิทยากร: คุณณัฐพงศ์ สุระเรืองชัย Principle Technical​ Consultant, E-C.O.P (Thailand)

เสวนากลุ่มย่อย – รู้ทัน Phishing และแก๊ง Call Center ทำอย่างไรไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ?

อัปเดตแนวโน้มการโจมตี SMS & Email Phishing, เทคนิคล่าสุดที่แก๊ง Call Center ใช้เพื่อหลอกลวงประชาชน และสายชาร์จดูดเงินทำได้จริงหรือไม่ พร้อมคำแนะนำในการสร้างภูมิคุ้มกันด้านไซเบอร์เพื่อไม่ให้ตนเองตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพเหล่านั้น

วิทยากร:

  • พันตำรวจเอก ณัทกฤช พรหมจันทร์ ผู้อำนวยการ สำนักปฏิบัติการ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
  • พลตำรวจตรี นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.)
  • คุณสุเมธ จิตภักดีบดินทร์ Cybersecurity Specialist, Secure-D Center

ท่องโลกไซเบอร์อย่างไรให้มั่นคงปลอดภัย

ทำความรู้จักกับภัยคุกคามไซเบอร์สมัยใหม่รอบตัว ทั้ง Ransomware, Phishing, Cryptojacking พร้อมคำแนะนำในการปกป้องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน และแท็บเล็ต รวมถึงเทคนิคการท่องโลกอินเทอร์เน็ตอย่างมั่นคงปลอดภัย ไม่ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรไซเบอร์

วิทยากร: คุณพุฒิพงศ์ พงศ์ลักษมาณา Pre-Sales Manager, Kaspersky

ETDA Digital Citizen ส่งต่อความรู้ สู่พลเมืองดิจิทัล

สังคมไทยจะเข้าสู่การเป็นสังคมดิจิทัลได้อย่างไร อะไรคือองค์ประกอบและปัจจัยที่สำคัญของการเป็นพลเมืองดิจิทัลคุณภาพ ร่วมหาคำตอบได้ที่เวทีสัมมนานี้ พร้อมอัปเดตเทรนด์ดิจิทัลที่น่าจับตามองในปี 2023 และคำแนะนำในการยกระดับทักษะและศักยภาพการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างมั่นคงปลอดภัย

วิทยากร: คุณอัจฉราพร หมุดระเด่น หัวหน้า ETDA Digital Citizen และสถาบัน ADTE by ETDA สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ปิดช่องโหว่ด้านความมั่นคงปลอดภัยและปกป้องการรับส่งข้อมูลของคุณได้แบบ 100%

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทุกกลุ่มอุตสาหกรรมต่างตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีไซเบอร์มากขึ้น ตั้งแต่บ็อตอัตโนมัติที่พยายามล็อกอินโดยใช้ข้อมูลที่รั่วไหล การขโมยเอาทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ ไปจนถึงการโจมตีแบบ Layer 3 DDoS ซึ่งอาจส่งผลให้ความเร็วและประสิทธิภาพของเครือข่ายลดลง และในบางกรณี อาจสร้างความเสียหายต่อธุรกิจอย่างรุนแรง เข้าฟังการบรรยายนี้เพื่อเรียนรู้การปกป้องธุรกิจ ยกระดับประสิทธิภาพ รวมถึงความเสถียรภาพของโครงสร้างพื้นฐานในสเกลระดับโลก และแนวทางปฏิบัติสำหรับการปกป้องการรับส่งข้อมูลออนไลน์จากบ็อตและการโจมตีไซเบอร์

วิทยากร: คุณณัฐพันธ์ เรืองรังษีรัตน์ Regional Account Manager, Cloudflare

State of Web Security ปี 2022 และวิธีเสริมแกร่งการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้แก่ธุรกิจของคุณ

CDNetworks ออกรายงาน State of Web Security Report for H1 2022 โดยมีเนื้อหาระบุถึงเรื่องการโจมตี DDoS , Bot และ API ที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี 2022 ในขณะที่การโจมตีเว็บแอปพลิเคชันยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกๆ เดือน CDNetworks เชื่อว่าแนวโน้มนี้แสดงให้เห็นว่าเครื่องมือรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เน้นการป้องกันการโจมตีแบบเดียวนั้นจะไม่สามารถยับยั้งการโจมตีไซเบอร์ที่หลากหลายในปัจจุบันได้อีกต่อไป

วิทยากร: คุณวรินธร เอี่ยมกระแสสิน Regional Sales Manager, CDNetworks

5 ความเข้าใจผิดและ 5 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ PDPA

พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA ประกาศบังคับใช้เมื่อเดือนมิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา กฎหมายฉบับนี้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการธุรกิจอย่างไร ประชาชนทั่วไปได้รับการคุ้มครองและมีสิทธิ์อะไรบ้าง รวมถึงหลากหลายประเด็นที่คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิด พบคำตอบได้ที่เวทีสัมมนานี้

วิทยากร: ดร.นพ.นวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์ รองคณบดีฝ่ายปฏิบัติการ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

เสวนากลุ่มย่อย – แนวทางการสร้างความหลากหลายสำหรับอุตสาหกรรม Cybersecurity

แชร์มุมมองและแนวทางการเสริมสร้างความหลากหลาย (Diversity) สำหรับวงการ Cybersecurity ของประเทศไทย เจาะลึกถึงปัญหาด้านความแตกต่างและความหลากหลายที่เกิดขึ้น พร้อมเสนอแนะแนวทางปฏิบัติเพื่อให้หน่วยงานและธุรกิจด้าน Cybersecurity ของไทยนำไปปรับใช้ เร่งสร้างความหลากหลายของบุคลากรด้าน Cybersecurity และเปิดโอกาสให้กับทุกคนได้อย่างแท้จริง

วิทยากร:

  • พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
  • คุณฐิติรัตน์ ศิริพัฒนาเลิศ Group Chief Information Security Officer and Chief Data Officer, True Digital
  • คุณศรัณย์ หงสกุล Brand Manager, Rainbow Silver และแอดมินเพจ ThaiCySec

ยกระดับ Cyber Resilience ขององค์กรด้วยเทคโนโลยี AI & Automation

เราไม่มีทางป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้ 100% คำถามคือหากเกิดการโจมตีทางไซเบอร์ขึ้นกับบริษัทของท่าน ท่านจะมีวิธีการรับมือและแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าวได้อย่างไร เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทน้อยที่สุด ในขณะที่ธุรกิจยังคงดำเนินต่อไปได้โดยไม่หยุดชะงัก

วิทยากร: คุณวิญญู อดิศักดิ์ตระกูล Solution Consultant and Sales Manager, Sangfor Technologies (Thailand)

เสวนากลุ่มย่อย – Security Culture in Thailand

ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กรเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้และมีการลงทุนกับโซลูชันการป้องกันภัยโจรกรรมไซเบอร์มากขึ้น แต่สิ่งที่ต้องตระหนักและให้ความสำคัญคือการสร้าง Security Culture ให้กับพนักงาน ให้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอุดช่องโหว่ขององค์กร

วิทยากร: Henry Ho Director of Sales, KnowBe4 และดร.ศุภกร กังพิศดาร Managing Director, Cyber Elite

ฝึกอบรมทางด้านไซเบอร์อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

อธิบายถึงการเรียนรู้ด้าน Cybersecurity อย่างไรให้เหมาะสม และประเมินผลของผู้เรียนรู้อย่างไร เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมแนะนำแพลตฟอร์ม SECPlayground ที่ช่วยยกระดับทักษะด้านการเจาะระบบ

วิทยากร: คุณสุเมธ จิตภักดีบดินทร์ Content Creator, SECPlayground

พวกเราสอนอะไร และมีสิ่งสนับสนุนในการเรียนอะไรบ้างที่ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การเรียน เนื้อหา และกิจกรรมด้าน Cybersecurity ของภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วิทยากร: รศ.ดร. สุรทศ ไตรติลานันท์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เสวนากลุ่มย่อย – ใบรับรองด้าน Cybersecurity สำคัญอย่างไร เริ่มสอบจากใบรับรองไหนดี?

ร่วมเสวนาประเด็นเรื่องใบรับรองกับการเริ่มต้นและเติบโตในสายงานด้าน Cybersecurity ใบรับรองสำคัญอย่างไร จำเป็นต้องมีหรือไม่ โดยสถาบันที่ได้รับการยอมรับในระดับโลกอย่าง (ISC)2, ISACA และ CompTIA พร้อมแนะนำใบรับรองด้าน Cybersecurity ที่ตลาดไทยและทั่วโลกกำลังต้องการ

วิทยากร: 

  • คุณธนวัต ทวีวัฒน์ นายกสมาคม (ISC)2 Bangkok Chapter
  • คุณวรางคณา มุสิกะสังข์ President, ISACA Bangkok Chapter
  • Dr.h.c. Charles Singh Former CompTIA Regional Director (South East Asia), Eastgate Tech

เพิ่มทักษะด้าน Cybersecurity อย่างมีประสิทธิภาพด้วย CTF

เริ่มเล่น CTF (Capture The Flag) อย่างไรให้ได้รับความสนุกและความเข้าใจในเรื่อง Cybersecurity อย่างครบถ้วน พร้อมเทคนิคสุดเจ๋งต่างๆ ในการแข่งขัน CTF

วิทยากร: คุณวรพัธน์ ด้วงแก้ว CEO & Cybersecurity Specialist, Permis Security

CyberSec Special Interest Group: The Culture

ว่าด้วยจุดกำเนิด การสร้าง การประคับประคอง และผลสัมฤทธิ์ เกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กร สำหรับกลุ่มอาจารย์และนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่สนใจด้านความมั่งคงปลอดภัยไซเบอร์

วิทยากร: ผศ.อัครเดช วัชระภูพงษ์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

เสวนากลุ่มย่อย – สายงาน Cybersecurity ใดที่ตลาดไทยกำลังต้องการ และทักษะสำคัญที่ควรมี

อัปเดตแนวโน้มตลาดแรงงานด้าน Cybersecurity ของไทย สายงานด้านไหนที่กำลังขาดแคลนและเป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งสำหรับนักศึกษาจบใหม่และผู้มีประสบการณ์ ใบรับรองและทักษะสำคัญที่ควรมีเพื่อให้เป็นที่สนใจของเหล่า HR ร่วมเสวนาและแชร์ประสบการณ์กับเหล่าบริษัท IT ชั้นนำและสถาบันอบรมและออกใบรับรองระดับโลก

วิทยากร: 

  • คุณชัชวัฒน์ อัศวรักวงศ์ Managing Director, KBTG และ CISO, KBank
  • คุณสุธี อัศวสุนทรางกูร CEO, CyberGenics
  • ดร.โสฬส พานิชปรีชา SANS Instructor, SANS Institute